วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

4. รู้จ้กเทคนิคการบันทึกงานแต่ละประเภท (Saving )

การบันทึกงานแบ่งออกได้หลายแบบ เช่น บันทึกเป็นไฟล์งาน Photoshop (PSD),  TIFF, PNG, JPEG

เพื่อให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภททจะนำไปใช้ต่อไป

บันทึกงานเป็นไฟล์ PSD การทำงานในโปรแกรม Photoshop จะมีการปรับแต่งหลายแบบ เมื่อทำการบันทึก ต้องให้แน่ใจว่าได้เลือกสิ่งที่ได้ปรับแต่งไว้ในงานประเภทต่างๆ อย่างครบถ้วน เช่น  Layer, Alpha channel และ อื่นๆ แต่อย่าลืมดูให้แน่ใจว่าช่อง As a copy จะต้องไม่ถูกเลือก อีกอย่างเพื่อประหยัดเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ ไม่ต้องทำเครื่องหมายเลือกที่ช่อง Maximize compatibility ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้นำไฟล์นี้ไปใช้กับ Photoshop ตระกูลอื่นเช่น Photoshop Lightroom เป็นต้น


photoshop cs6 : save option


photoshop cs6 : psd save screen


บันทึกงานเป็นไฟล์ TIFF (สำหรับงานพิมพ์) ก่อนบันทึกงาน ให้ทำการรวมเลเยอร์ให้เป็น Flat Layer ก่อน เพื่อลดขนาดไฟล์ เพราะไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่อย่าลืมขณะบันทึกต้องแน่ใจว่าได้เลือกที่ช่อง Layer ไว้ด้วย กรณีนี้จะสามารถเปิดไฟล์เพื่อมาแก้ไขในโปรแกรม Photoshop ได้อีก แต่ถ้าแน่ใจว่าไม่ต้องการกลับมาแก้ไขอีก ให้บันทึกโดยไม่ต้องเลือกช่อง Layer และให้กำหนดค่าใน TIFF Option แทนเพื่อให้เหมาะกับความต้องการ

photoshop cs6 : tiff save screen

photoshop cs6 : tiff save option


บันทึกงานเป็นไฟล์ PNG การบันทึกงานประเภทนี้จะมีขนาดไฟล์ที่ค่อนข้างเล็ก แต่ไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขใน Photoshop ได้อีก เหมาะกับงานประเภทที่ใช้แสดงผลบนเว็ปไซด์

photoshop cs6 : png save screen

photoshop cs6 : png save option


บันทึกงานเป็นไฟล์ JPEG ไฟล์ประเภทนี้จะให้ภาพที่ค่อนข้างสวยงาม แต่ก็จะมีขนาดของไฟล์ใหญ่พอสมควร ก่อนที่จะบันทึกก็ลองปรับค่าคุณภาพของภาพตามประเภทของงานที่จะนำไปใช้ต่อไปดูนะครับ สามารถปรับได้ตั้งแต่ 0 - 12 เรียงจากความละเอียดของภาพจากน้อยไปหามาก

photoshop CS6 : JPG save screen

photoshop CS6 : JPG save option

3. ขนาดและความละเอียดของภาพ (Image and Resolution)

รูปภาพ ประกอบด้วยจำนวนพิกเซลมากมาย ยิ่งภาพนั้นมีความละเอียดมากเท่าไร ภาพนั้นก็มีความชัดเจนมากขึ้น แต่แน่นอนขนาดของภาพก็จะใหญ่ขึ้นตามกัน


วิธีคำนวณจำนวนพิกเซลของภาพ ใช้ ขนาดความกว้าง (pixel) x ขนาดความสูง (pixel) จะได้จำนวนพิกเซลรวม สำหรับความละเอียดของภาพ (Resolution) ดูได้จากจำนวนพิกเซลรวมกันต่อขนาดพื้นที่ เช่น 300 pixel per inch (PPI) ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับงานสิ่งพิมพ์

โปรแกรม Photoshop สามารถกำหนดขนาดของภาพ และความละเอียดได้ขณะที่สร้างงานใหม่ขึ้นมา สามารถกำหนดขนาด Width and Height เป็น Pixels, Inches, Centimeters, Millimeters, Points, Picas, Columns


photoshop cs6 : new screen
หน้าเริ่มต้นการตั้งค่าชิ้นงาน

photoshop cs6 : image size screen
หน้าการปรับแต่งชิ้นงาน
ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงขนาด หรือ ความละเอียดของชิ้นงานหลังจากที่ได้กำหนดไว้แล้วตั้งแต่ต้น ขั้นแรกจะต้องเปิดหน้า Image Size โดยใช้เมนูโปรแกรม Image เลือก Image size ก็จะได้หน้าต่างดังกล่าว สามารถทำการรปรับแต่งได้เป็น 3 ส่วน

ส่วนที่หนึ่ง Pixel Dimension เป็นการปรับสัดส่วนขนาดของภาพที่แสดงบนหน้าจอ
ส่วนที่สอง Dimension size เป็นการปรับขนาดของภาพที่จะใช้พิมพ์
ส่วนที่สาม Scale style, Constrain, Resample Image เป็นส่วนที่ใช้กำหนดความสัมพันธ์ในการปรับแต่งของส่วนที่หนึ่ง และ สอง

การปรับแต่ง (Resample)  ทำได้สองแบบด้วยกัน คือ การเพิ่ม Up sample ลด Down sample ขนาดของภาพ

Upsample เป็นการเพิ่มพิกเซลเข้าไปให้กับภาพ ซึ่งก็จะทำให้ภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น และความละเอียดมากขึ้น ซึ่งควรจะตั้งค่าเป็น Bicubic Smoother

Downsample เป็นการทำลักษณะกลับกัน กับ Upsample และควรจะตั้งค่าเป็น Bicubic Sharper

การปรับหน้าจอแสดงภาพ (Screen Mode) :

จอแสดงภาพของโปรแกรม Photoshop CS6 มีด้วยกัน 3 แบบ การเลือกแต่ละแบบทำได้โดย คลิกที่ไอคอน Change Screen Mode (รูปสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองรูป) ที่แถบเครื่องมือ หรือ จะกดคีย์ลัด F ก็ได้ กด F แต่ละครั้งจอแสดงภาพก็จะเปลี่ยนสลับกันไปแบบเดินหน้า ถ้าต้องการย้อนการแสดงจอภาพ ให้กด Shift + F


รูปแบบของจอแสดงภาพ ได้แก่ Standard Screen, Full Screen mode with Menu bar, Full Screen

ขณะที่อยู่ในรูปแบบใดแบบหนึ่งของจอแสดงภาพ ยังสามารถที่จะสั่งให้แสดง หรือ ซ่อน แถบเครื่องมือ และ แถบ Panel ได้อีกด้วย โดยการใช้ปุ่มต่างๆ ดังนี้


  • กดปุ่ม Tab เป็นการซ่อน แถบเครื่องมือ แผงควบคุมเครื่องมือ และ แถบ Panel กด Tab อีกครั้งเป็นการเปิดขึ้นมาจากการซ่อน
  • กดปุ่ม Shift + Tab เป็นการซ่อนแถบ Panel อย่างเดียว กดอีกครั้งเป็นเปิดขึ้นมาจากการซ่อน

เทคนิค ขณะที่อยู่ในรูปแบบการซ่อน แต่ต้องการใช้เครื่องมือ หรือทำบางอย่างกับแถบ Panel  สามารถนำเม้าส์ไปชี้ที่ขอบของแถบที่ทั้งสองซ่อนอยู่ แถบเครื่องมือ และ Panel จะแสดงขึ้นมาชั่วคราว  เมื่อเลือกสิ่งที่ต้องการแล้ว ให้เลื่อนเม้าส์ออกมา แถบนั้นก็จะซ่อนกลับไปเหมือนเดิม 


การปรับขนาด Layer Thumbnail  :

วิธีนี้ใช้เพื่อให้เหมาะกับการทำงาน เช่น ถ้าขนาด thumbnail มีขนาดเล็ก การมองภาพหรือรายละเอียดของ thumbnail จะยากกว่าขนาดที่ใหญ่ แต่ถ้างานชิ้นที่ทำนั้นมี เลเยอร์ (layer) มาก ก็จำเป็นที่จะต้องปรับขนาดให้เล็กลง

วิธีปรับขนาด Thumbnail แต่ละชิ้นงาน ทำได้โดย คลิกขวาบนพื้นที่ว่างของเลเยอร์ panel (ไม่ใช่ที่ตัวเลเยอร์) แล้วทำการเลือกขนาด ซึ่งมี 3 ขนาด คือ Small Medium and Large

วิธีปรับขนาด Thumbnail ให้กับทุกชิ้นงาน ทำได้โดยคลิกที่ลูกศรคว่ำบนแถบเลเยอร์ เลือก panel option แล้วคลิกเลือกขนาดที่ต้องการ

ทคนิค วิธีนี้ยังสามารถใช้ได้กับการปรับขนาด Thumbnail ของ Channel and Path Layer 

การเลื่อนภาพ (Scrolling and Panning Image)

เมื่อมีการซูมภาพ แน่นอนว่าต้องมีการเลื่อนภาพให้ส่วนที่เราต้องการเห็นมาแสดงให้เหมาะสม วิธีการทำมีได้หลายแบบด้วยกัน



  • ลูกกลิ้งของเม้าส์ เลื่อนขึ้น สำหรับการเลื่อนภาพขึ้น และกลับกัน
  • ลูกกลิ้งของเม้าส์ + กดปุ่ม Ctrl สำหรับการเลื่อนภาพแนวนอน ถ้าเลื่อนขึ้นจะเป็นการเลื่อนภาพไปทางขวา และกลับกัน
  • เครื่องมือ Hand Tool (ไอคอนรูปมือที่แสดงบนแถบเครื่องมือ) หรือ กดคีย์ลัด H เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ คลิกค้างไว้ที่ภาพแล้วเลื่อนภาพได้ตามที่ต้องการ
  • กดปุ่ม Space Bar ค้างไว้  เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ คลิกค้างไว้ที่ภาพแล้วเลื่อนภาพได้ตามที่ต้องการ
  • Bird Eye View เป็นเครื่องมือซึ่งใช้ในกรณีพิเศษ เป็นการใช้ขณะที่เราทำการขยายภาพใหญ่มากๆ เพื่อดูเฉพาะจุดนั้น แล้วต้องการเปลี่ยนจุดที่ต้องการดูไปยังจุดอื่น ให้คลิกเครื่องมือ Hand Tool หรือ กด H คลิกเม้าส์ค้างไว้ที่ภาพ เม้าส์จะมีสัญญลักษณ์สี่เหลี่ยมแสดงขึ้นล้อมรอบเม้าส์ พร้อมทั้งภาพจะลดขนาดลงไปให้เราเห็นทั้งภาพ ทำการเลื่อนเม้าส์ไปยังจุดที่เราต้องการดู ปล่อยเม้าส์ ภาพจะขยายขึ้นมาตามขนาดเดิม และส่วนที่เราเลือกจะอยู่กึ่งกลางหน้าจอทำงานพอดี



photoshop cs6 : scroll both images together
เทคนิคการเลื่อนภาพพร้อมกัน

ซูมภาพ

โปรแกรม Photoshop CS6 มีลักษณะพิเศษของการซูมภาพได้หลายวิธี รวมถึงความสะดวกในการใช้คีย์ลัดเพื่อทำการซูม เข้า หรือ ออก ก็ตาม


การซูมออก (Zoom Out) ภาพจะเล็กลง

  • โปรแกรมเมนู View เลือก Zoom out
  • การใช้คีย์ลัด กดปุ่ม Ctrl + minus sign (เครื่องหมาย -)
  • เครื่องมือซูม (Zoom Tool) คลิกที่รูปแว่นขยาย  หรือ ใช้คีย์ลัดโดยการกดตัว Z + Alt ลูกศรของเม้าส์จะเปลี่ยน         เป็นรูปแว่นขยาย คลิกที่ภาพแต่ละครั้งก็จะทำการซูมออกตามจำนวนครั้งที่คลิก แต่ถ้าต้องการ ซูมแบบต่อเนื่อง  ให้ทำลักษณะเดียวกัน แต่คลิกเม้าส์ค้างไว้ หรือ เลื่อนเม้าส์ไปทางซ้าย ภาพจะทำซูมออกแบบต่อเนื่อง
  • กดปุ่ม Alt + Ctrl + Space bar ค้างไว้ และคลิกที่ภาพ
  • กดปุ่ม Alt + Scroll Downward (เลื่อนตัวหมุนที่อยู่ตรงกลางของเม้าส์ ลง)
  • การคีย์ตัวเลขขนาดที่ต้องการซูมออก ที่ช่องบอกขนาดภาพ ซึ่งอยู่ด้านล่าง ซ้ายมือ แล้วกด Enter
  • กดปุ่ม Ctrl + ใช้เม้าส์ชี้ที่ช่องบอกขนาดภาพ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ และมีลูกศรซ้ายขวาอยู่ที่นิ้วชี้ ให้เลื่อนเม้าส์ไปทางซ้าย
การซูมเข้า (Zoom In) ภาพจะใหญ่ขึน
  • โปรแกรมเมนู View - Zoom in
  • การใช้คีย์ลัด กดปุ่ม Ctrl - plus (เครื่องหมาย +)
  • เครื่องมือซูม (Zoom Tool) คลิกที่รูปแว่นขยาย หรือ ใช้คีย์ลัดโดยการกดตัว Z ลูกศรของเม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปแว่นขยาย คลิกที่ภาพแต่ละครั้งก็จะทำการซูมเข้าตามจำนวนครั้งที่คลิก แต่ถ้าต้องการ ซูมแบบต่อเนื่อง ให้ทำลักษณะเดียวกัน แต่คลิกเม้าส์ค้างไว้ หรือ เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ภาพจะทำซูมเข้าแบบต่อเนื่อง 
  • กดปุ่ม Ctrl + Space bar ค้างไว้ และคลิกที่ภาพ
  • กดปุ่ม Alt + Scroll Upward (เลื่อนตัวหมุนที่อยู่ตรงกลางของเม้าส์ ขึ้น)
  • การคีย์ตัวเลขขนาดที่ต้องการซูมเข้า ที่ช่องบอกขนาดภาพ ซึ่งอยู่ด้านล่างซ้ายมือ - แล้วกด Enter
  • กดปุ่ม Ctrl + ใช้เม้าส์ชี้ที่ช่องบอกขนาดภาพ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ และมีลูกศรซ้ายขวาอยู่ที่นิ้วชี้ ให้เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา
เทคนิค กดปุ่ม Ctrl + 0 = คำสั่งให้ภาพแสดงเป็น fit on screen หรือพอดีกับหน้าจอภาพ, กดปุ่ม Ctrl + 1 = คำสั่งให้แสดงขนาดจริงของภาพเท่ากับ 100% 

การลบพื้นที่การทำงาน

ถ้าคิดว่าไม่ต้องการใช้รูปแบบพื้นที่เรา กำหนดขึ้นเอง อีกต่อไปแล้ว ก็ให้กดปุ่ม Workspace Bar - Delete Workspace

การปรับพื้นที่ทำงานใหม่จากพื้นที่ทำงานเดิม  ถ้าต้องการปรับพื้นที่ทำงานที่เราสร้างขึ้นมา แต่ไม่พอใจต้องการเปลี่ยนให้เหมาะสมมากขึ้น ทำได้โดยกดปุ่ม Workspace Bar เลือกพื้นที่การทำงานที่เราสร้างไว้ แล้วทำการปรับแต่ง - เสร็จแล้วเลือก New Workspace - ตั้งชื่อให้เหมือนเดิม - ยืนยันการบันทึก

การเรียกคืนการตั้งค่าเดิม   เวลาที่เราอยู่ในหน้า Workspace ของเรา แล้วมีการเปิด Panel อื่นเพิ่มขึ้นมาเพื่อใช้งาน เปิดไป เปิดมา เริ่มที่จะเต็มไปหมด เริ่มที่จะรกแล้ว ให้ทำการเรียกคืนการตั้งค่าเดิม Workspace ของเรา โดยกดปุ่ม Workspace - เลือก Reset ที่เป็นชื่อ Workspace ของเรา แค่นี้เองครับ

เทคนิค การปรับแต่งพื้นที่ทำงาน ถ้าต้องการย้าย  panel หนึ่งไปรวมไว้กับ panelอื่นให้ทำการคลิกที่ panel นั้น แล้วลากออกมาเพื่อไปวางไว้ในตำแหน่งใหม่ ให้สังเกตุจะมีแสงสีฟ้าแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งที่เราจะวาง เมือเราลากไปใกล้ยังตำแหน่งนั้นๆ

การกำหนดพื้นที่ทำงานของเราเอง

 ทำได้เพราะโปรแกรม Photoshop CS6 มีระบบที่ทำให้เรากำหนดเองได้ โดยใช้เมนูโปรแกรม เลือก Window - เลือก Panel ที่ต้องการ (ภาพด้านขวา เริ่มตั้งแต่ 3D panel ) ให้แสดงอยู่ในพื้นที่การทำงาน เมื่อจัดตำแหน่งเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม Workspace Bar - เลือก New Workspace - ทำการตั้งชื่อพื้นที่ทำงานของเรา - แล้วทำการ Save (ช่อง Keyboard Shortcuts / Menus จะเลือกหรือไม่ก็ได้ถ้าเราไม่มีการปรับตั้งค่าใหม่ในสองส่วนนี้ก็ไม่ต้องเลือก) หลังจากทำการบันทึกแล้ว ถ้าเรากดปุ่ม Workspace Bar ก็จะมีรายชื่อที่เราบันทึกไว้ แสดงรวมอยู่กับรายการพื้นที่อื่นๆ  (ชื่อที่เห็นบนปุ่ม Workspace Bar นี้จะเปลี่ยนไปตามการแสดงชื่อพื้นที่ปัจจุบันที่เราเลือก)

photoshop cs6 : new workspace window